แบนเนอร์

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) หมายถึง ระบบที่สะท้อนโครงสร้าง กระบวนการ และความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งการจัดการโครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการดังกล่าว มุ่งหวังให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นองค์กรที่มีความสามารถในการแข่งขันและมีผลการดำเนินงานที่ดีในระยะยาว (Competitiveness and Performance with Long-term Perspective) ควบคู่กับการคำนึงถึงจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Ethical and Responsible Business) เพื่อผลักดันไปสู่การเป็นองค์กรที่สร้างคุณค่าให้กับสังคม (Good Corporate Citizenship) และสามารถปรับตัวภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง (Corporate Resilience)
 


การประเมินความเสี่ยงการทุจริตของ กฟภ. ปี 2565

 
การประเมินความเสี่ยงการทุจริต 
(Fraud Risk Assessment) 

วัตถุประสงค์ของการประเมินความเสี่ยงการทุจริต

มาตรการป้องกันการทุจริตสามารถจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตในองค์กรได้ ดังนั้น การประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต การออกแบบและการปฏิบัติงานตามมาตรการควบคุมภายใน ที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงด้านการทุจริต ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกและค่านิยมในการต่อต้านการทุจริต ให้แก่บุคลากรขององค์กรถือเป็นการป้องกันการเกิดการทุจริตในองค์กร ทั้งนี้ การนำเครื่องมือประเมินความเสี่ยงมาใช้ในองค์กรจะช่วยให้เป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่าการดำเนินการขององค์กรจะไม่มีการทุจริต หรือลดโอกาสจะประสบกับการทุจริตที่ไม่คาดคิด หรือหากเกิดความเสียหายขึ้นก็จะเป็นความเสียหายที่น้อยกว่าองค์กรที่ไม่มีการนำเครื่องมือประเมินความเสี่ยงมาใช้ เพราะได้มีการเตรียมการป้องกันล่วงหน้าไว้โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานประจำ ซึ่งไม่ใช่การเพิ่มภาระงานแต่อย่างใด 

ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของการประเมินความเสี่ยงการทุจริตนั้น เพื่อให้ กฟภ. มีมาตรการ ระบบ หรือ แนวทางในบริหารจัดการความเสี่ยงของการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดการทุจริต ซึ่งเป็นมาตรการ ป้องกันการทุจริตเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ โดยมีกรอบในการแก้ไขปัญหาการทุจริตดังมุมมองต่อไปนี้

 

Corrective :

แก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้า

Detective :

กำหนดมาตรการ/วิธีการเฝ้าระวัง หรือทำให้สามารถตรวจพบได้ก่อนเกิดความเสียหาย

Preventive :

ป้องกัน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยง หรือปิดช่องว่าง ปรับเปลี่ยนกระบวนการใหม่อย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดความเสี่ยงเดิมอีก

Forecasting :


พยากรณ์ ประมาณการเหตุการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในประเด็นที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยพบมาก่อน

องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการทุจริต

            องค์ประกอบหรือปัจจัยที่นำไปสู่การทุจริต ประกอบด้วย แรงกดดันหรือแรงจูงใจ (Pressure / Incentive) หรือ โอกาส (Opportunity) ซึ่งเกิดจากช่องโหว่ของระบบต่าง ๆ คุณภาพการควบคุม กำกับควบคุมภายในขององค์กรมีจุดอ่อน และ Rationalization หรือ การหาเหตุผล สนับสนุนการกระทำตามทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริต (Fraud Triangle) 

ขอบเขตการประเมิน

            กฟภ. ใช้กรอบการประเมินความเสี่ยงการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการ ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ท.) เป็นแนวทางในการประเมินความเสี่ยงการทุจริต โดยแบ่งประเภทความเสี่ยงการทุจริต ออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้

  • ความเสี่ยงการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต (เฉพาะหน่วยงานที่มีภารกิจให้บริการประชาชนอนุมัติ หรืออนุญาต ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาต ของทางราชการ พ.ศ. 2558) 
  • ความเสี่ยงการทุจริตในความโปร่งใสของการใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่
  • ความเสี่ยงการทุจริตในความโปร่งใสของการใช้จ่ายงบประมาณและการบริหารจัดการทรัพยากรภาครัฐ

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงการทุจริตมี 5 ขั้นตอน ดังนี้

สรุปผลการประเมินความเสี่ยงการทุจริตของ กฟภ. ประจำปี 2565




แผนบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต : กระบวนงานจัดซื้อจัดจ้าง

เหตุการณ์ความเสี่ยงการทุจริต

มาตรการ/กิจกรรม/แนวทาง

R06  การติดสินบน ซึ่งจะนำไปสู่การเอื้อประโยชน์ให้กับคู่สัญญา

- โครงการการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)

- แผนงานพัฒนากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาพรัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณาแนวทางแก้ไข)

R07  การกำหนด TOR / คุณลักษณะของสินค้าหรือบริการที่เจาะจงบริษัทใดบริษัทหนึ่ง


สรุปผลการประเมินความเสี่ยงการทุจริตของ กฟภ. ประจำปี 2565

รายงานรอบที่1 รายงานแผนบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริตของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

 word , pdf

รายละเอียดการประเมินความเสี่ยงการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง จำนวน 5 โครงการ ดังนี้

 word , pdf


Print
Tags: