แบนเนอร์

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) หมายถึง ระบบที่สะท้อนโครงสร้าง กระบวนการ และความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งการจัดการโครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการดังกล่าว มุ่งหวังให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นองค์กรที่มีความสามารถในการแข่งขันและมีผลการดำเนินงานที่ดีในระยะยาว (Competitiveness and Performance with Long-term Perspective) ควบคู่กับการคำนึงถึงจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Ethical and Responsible Business) เพื่อผลักดันไปสู่การเป็นองค์กรที่สร้างคุณค่าให้กับสังคม (Good Corporate Citizenship) และสามารถปรับตัวภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง (Corporate Resilience)
 


แผนแม่บทธรรมาภิบาล ป้องกัน และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของ กฟภ. (พ.ศ. 2566 – 2570)

แผนแม่บทธรรมาภิบาล ป้องกัน และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของ กฟภ. (พ.ศ. 2566 – 2570)
กฟภ. ได้ดำเนินการทบทวนแผนแม่บทธรรมาภิบาล ป้องกัน และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของ กฟภ. (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อเป็นกรอบแนวทางสำหรับ กฟภ. ในการนำไปพัฒนาองค์กรในเรื่องการกำกับดูแลกิจการให้มีความครบถ้วนและเป็นมาตรฐานตามกรอบหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งมีการทบทวนให้สอดรับการสถาวะการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อเป้าหมายสู่การเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ที่สอดคล้องและสนับสนุนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 – 2580) ได้แก่ 

กลุยุทธ์ที่ 1 ยกระดับการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล และตามเกณฑ์การประเมิน Core Business Enablers ด้านที่ 1 การกำกับดูแลที่ดี
                   และการนำองค์กรและกระบวนงานด้าน GRC

กลยุทธ์ที่ 2 การยกระดับพฤติกรรมด้านธรรมาภิบาล วัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต
กลยุทธ์ที่ 3 การส่งเสริมความยั่งยืนด้วยระบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และไม่เลือกปฏิบัติ

 

 

Documents to download

Print
Tags: