แบนเนอร์

ข่าวประชาสัมพันธ์

PEA คว้า 4 รางวัลนวัตกรรม จาก 3 ผลงาน บนเวทีนานาชาติ “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva”

PEA คว้า 4 รางวัลนวัตกรรม จาก 3 ผลงาน บนเวทีนานาชาติ  “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva”
PEA คว้า 4 รางวัลนวัตกรรม จาก 3 ผลงาน บนเวทีนานาชาติ 
“The 49th International Exhibition of Inventions Geneva”

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) คว้า 4 รางวัล จากเวทีนานาชาติ “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยมีผู้เข้าร่วมการประกวดมากกว่า 1000 ผลงาน 40 ประเทศ และ PEA ได้รับรางวัล ดังนี้
1. รางวัลระดับเหรียญเงิน (Silver MEDAL) จากผลงาน อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างวิทยุสื่อสาร Analog กับ วิทยุสื่อสาร Digital (Interface Analog Radio and Digital Radio) เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างวิทยุสื่อสารแอนะล็อก กับ วิทยุสื่อสารดิจิทัล เพื่อลดปัญหาวิทยุสื่อสารดิจิทัลไม่เพียงพอต่อความต้องการ และสามารถขยายระยะทางในการสื่อสารด้วยวิทยุสื่อสารดิจิทัลได้อีกด้วย
2. รางวัลระดับเหรียญเงิน (Silver MEDAL) และรางวัลพิเศษจาก Delegation of Malaysia จากผลงาน 
การจัดเก็บและซื้อขายพลังงานในรูปแบบ Digital Asset ด้วย Smart Contract บนระบบ Blockchain (Distributed Electric Power Source Exchange Platform of Household Electricity Supplier) เป็นอุปกรณ์แลกเปลี่ยนพลังงานทำงานที่ร่วมกับ Kapacitor Platform โดยผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าสามารถนำพลังงานไฟฟ้ามาฝากผ่าน Node  
ซึ่งพลังงานที่ป้อนเข้าสู่ระบบ 1 kWh จะถูกเปลี่ยนเป็น 1 Kapacitor Token (ERC-20) เพื่อเป็นหลักฐานในการรับฝากพลังงานเข้าสู่  Crypto Wallet  ของผู้ฝากตามที่ได้ลงทะเบียนไว้  ในทางตรงกันข้ามผู้ที่ถือครอง Kapacitor Token สามารถนำ Token นี้ไปแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์อื่นหรือเป็นพลังงานที่ Kapacitor Node ในอัตราการแลกเปลี่ยน 
1 Kapacitor Token ต่อ 1 kWh ซึ่งเป็นการจัดการฝากและแลกเปลี่ยนพลังงานได้โดยสมบูรณ์
3. รางวัลระดับเหรียญเงิน (SILVER MEDAL) จากผลงานชุดทดสอบถุงมือยางกันไฟแรงต่ำ (Low Voltage Rubber Insulating Gloves Tester) เป็นเครื่องมือทดสอบต้นแบบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทดสอบคุณสมบัติความเป็นฉนวนของถุงมือกันไฟฟ้าในระบบจำหน่ายแรงต่ำ หรือ ถุงมือยางกันไฟฟ้า Class 0 ในหัวข้อ AC proof test ตามที่มาตรฐาน ASTM D120-22 และ ASTM F496-20 กำหนดและออกแบบให้เครื่องทดสอบดังกล่าวทำงานด้วยระบบอัตโนมัติสามารถเคลื่อนย้ายไปทำการทดสอบตามสถานที่ต่างๆ ได้โดยเครื่องมือทดสอบจะทำการจ่ายไฟฟ้าแรงสูงให้กับถุงมือยางกันไฟฟ้า ตรวจวัดค่ากระแสไฟฟ้ารั่วไหลที่เกิดขึ้นนาน 3 นาที ทั้งนี้ ค่ากระแสไฟฟ้ารั่วไหลที่ตรวจวัดได้จะต้องมีค่าไม่เกินตามที่มาตรฐานกำหนด ถือว่าผ่านการทดสอบ และนำถุงมือยางกันไฟฟ้าไปใช้ปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

ข้อมูล/ภาพ : กองนวัตกรรม ฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและควบคุมคุณภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า
ข่าว : กองสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร
Print
Tags: