แบนเนอร์

ข่าวประชาสัมพันธ์

PEA และ กิจการค้าร่วม บริษัท โคลท์ เทคนิคัล จำกัด และบริษัท เอเออี เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัดลงนามสัญญาจ้างเหมาแผนงานนำร่องพัฒนาระบบไฟฟ้าด้วยระบบกักเก็บพลังงาน

PEA และ กิจการค้าร่วม บริษัท โคลท์ เทคนิคัล จำกัด และบริษัท เอเออี เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัดลงนามสัญญาจ้างเหมาแผนงานนำร่องพัฒนาระบบไฟฟ้าด้วยระบบกักเก็บพลังงาน
PEA และ กิจการค้าร่วม บริษัท โคลท์ เทคนิคัล จำกัด และบริษัท เอเออี เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัดลงนามสัญญาจ้างเหมาแผนงานนำร่องพัฒนาระบบไฟฟ้าด้วยระบบกักเก็บพลังงานเชื่อมต่อในระบบจำหน่าย พื้นที่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
นายภาณุมาศ ลิ้มสุวรรณ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นายวรรธนะ บุญใบ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคลท์ เทคนิคัล จำกัด นายสมภพ บุญใย ผู้บริหารสูงสุด บริษัท เอเออี เอ็นจิเนียริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมลงนามสัญญาจ้างเหมาแผนงานนำร่องพัฒนาระบบไฟฟ้าด้วยระบบกักเก็บพลังงานเชื่อมต่อในระบบจำหน่าย พื้นที่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุม Ballroom II Sheraton Grande Sukhumvit a Luxury Collection Hotel Bangkok
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มุ่งมั่นให้บริการพลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน จึงได้พิจารณา นำระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS) มานำร่องแก้ปัญหาระบบไฟฟ้าในพื้นที่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศล้อมรอบด้วยเนินเขาและภูเขาสูงชันของอุทยานแห่งชาติศรีลานนา โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1-3 ล้อมรอบ การพัฒนาระบบไฟฟ้าในพื้นที่ด้วยวิธีปักเสาพาดสายจึงทำได้ลำบากและต้องทำรายงานศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งต้องใช้เวลานาน อีกทั้งพื้นที่ อำเภอพร้าว มักเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ไฟตก ไฟดับ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่
PEA ได้ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS) ขนาดใช้งานจริง 3.00 MW/3.00MWh (ติดตั้งกว่า 4MWh) เพื่อพัฒนารูปแบบการจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพิ่มความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล ให้มีพลังงานไฟฟ้าที่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ที่สามารถรองรับพลังงานทดแทนที่อาจจะเพิ่มขึ้นในพื้นที่ และเพื่อใช้เป็นแผนงานต้นแบบเพื่อขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อไป
ข่าว / ภาพ : กองสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร ฝ่ายส่งเสริมความสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรเพื่อความยั่งยืน
Print
Tags: