
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดการพึ่งพาหรือนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ให้สามารถนำผลงานที่ได้จากการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การดำเนินงานของ กฟภ.
ลักษณะของงานวิจัยและพัฒนาที่จะได้รับการสนับสนุน
งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกองทุน จะต้องเป็นงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่มี ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1) งานวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ ปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่ กฟภ. ตลอดจนเป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ กฟภ. อีกด้วย ซึ่งเป็นการระดมความคิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก กฟภ. ประเด็นวิจัยและพัฒนามาจากปัญหาในปัจจุบัน และผลการวิจัยและพัฒนาดังกล่าว จะนำไปสู่การแก้ปัญหานั้นต่อไป
2) งานวิจัยและพัฒนาเพื่อเตรียมรองรับปัญหาในระยะปานกลางถึงระยะยาว
เป็นการวิจัยและพัฒนาที่เตรียมความพร้อมสำหรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยปัญหาดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นการกำหนดขอบเขตการวิจัยและพัฒนา จะต้องอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตการวิจัยและพัฒนาอาจจะมาจากนักวิจัยหรือผู้เกี่ยวข้องหรือจากการระดมความคิดก็ได้ โดยจะต้องมีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนและเชื่อได้ว่างานวิจัยและพัฒนาดังกล่าวนี้จะเป็นปัญหาสำคัญในอนาคต
3) งานวิจัยและพัฒนาซึ่งนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม หรือเป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้ทางเลือกใหม่ในการพัฒนา
ขอบเขตงานวิจัยและพัฒนาประเภทนี้ ต้องถูกกำหนดโดยนักวิจัยที่มีประสบการณ์หรือผู้ที่เชี่ยวชาญ โดยต้องมีหลักฐานยืนยัน รวมทั้งต้องชี้ให้เห็นความสำคัญและความเป็นไปได้ในเรื่องที่จะวิจัยและพัฒนาอย่างชัดเจน และต้องมีความเป็นไปได้ในการขยายผลงานวิจัยและพัฒนาดังกล่าวให้เกิดประโยชน์กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย
4) งานขยายผลการวิจัยและพัฒนา
เป็นกระบวนการจัดการปลายทางเพื่อหาข้อมูลบางประการหรือสนับสนุนกิจกรรมบางอย่างเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายนำผลงานที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง งานประเภทนี้อาจมีความจำเป็นในการผลักดันให้มีการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจังและกว้างขวาง
ขอบเขตงานวิจัยพัฒนา และนวัตกรรม
ขอบเขตการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมที่จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกองทุนนั้น จะต้องเป็นงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านใดด้านหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1) Decentralization
- ระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก (Microgrid)
- ระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (Distributed Energy Resources)
- ระบบกักเก็บพลังงานแบบกระจายตัว (Distributed Storage)
- การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management)
- มาตรการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response)
- ระบบจัดการพลังงาน (Energy Management System)
- การซื้อขายไฟฟ้าและการพยากรณ์ความต้องการพลังงานไฟฟ้า (Electricity Purchasing and Distribution Forecasting)
- การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency)
2) Digitalization
- ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)
- เมืองอัจฉริยะ (Smart City)
- ระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System)
- มิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Metering)
- เซนเซอร์อัจฉริยะ (Smart Sensor)
- การให้บริการธุรกิจหลังมิเตอร์ (Behind Meter)
- การให้บริการอัจฉริยะ (Smart Service)
- ระบบควบคุมสั่งการระยะไกลแบบอัตโนมัติ (Remote Control and Automation System)
- อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Appliance and Devices)
- อุปกรณ์เชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet of Things, IoT)
- การสื่อสารและวิเคราะห์ข้อมูล (Communication and Data Analytic)
- ศูนย์จัดเก็บข้อมูล (Data Storage Center)
- การตรวจหามิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Phase)
- การพัฒนาธุรกิจ (Business Development)
- การพัฒนานวัตกรรม (Innovation Development)
- การบริหารจัดการองค์กร (Organization Management)
- การบริหารสินทรัพย์ระบบไฟฟ้าและองค์กร (Asset Management)
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT and Application)
- ระบบรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ (Cyber Security)
- การพัฒนา ประยุกต์ใช้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรฐาน CIM (Common Information Model)
- การประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศระบบไฟฟ้า (Geographic Information System)
3) Decarbonization
- การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental)
- พลังงานทดแทน (Renewable Energy)
- พลังงานแสงอาทิตย์ (Photovoltaic Energy)
- พลังงานลม (Wind Energy)
- พลังงานน้ำ (Hydro Energy)
- พลังงานขยะ (Waste Energy)
- พลังงานชีวมวล (Biomass Energy)
- พลังงานก๊าซชีวภาพ (Biogas Energy)
- พลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ (Solar Thermal Energy)
- ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนร่วม (Combined Heat and Power)
4) Electrification
- ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle)
- การจ่ายพลังงานไฟฟ้าระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับระบบจำหน่าย (Vehicle to Grid)
- การจ่ายพลังงานไฟฟ้าระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับบ้านพักอาศัย (Vehicle to Home)
- การจ่ายพลังงานไฟฟ้าระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับอาคาร (Vehicle to Building)
- ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage)
- การอัดประจุแบตเตอรี่อัจฉริยะ (Smart Charging)
- ปั๊มความร้อน (Heat Pump)
- ระบบผลิตไฟฟ้า (Conventional Generation)
- ระบบส่งและระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า (Transmission and Distribution system)
- การบริหารจัดการและการดำเนินการด้านระบบโครงข่าย (Network Operation and Management)
- ระบบควบคุมและป้องกัน (Control and Protection)
- ระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย (Safety Management System)
- การพัฒนาความสามารถด้านการดำเนินการ (Operational Performance Improvement)
- คุณภาพระบบไฟฟ้า (Power Quality)
- เสถียรภาพของระบบไฟฟ้า (Power System Stability)
- การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า (Power System Analysis)
- การวางแผนระบบไฟฟ้าสำหรับระบบจำหน่าย (Power System Planning for Power Distribution Systems)
- เทคโนโลยีนิวเคลียร์ขั้นสูงสำหรับการผลิตไฟฟ้า (Advanced Nuclear Technology)
- การผลิตไฮโดรเจนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Hydrogen Electrolysis)
- การดำเนินงานและการบำรุงรักษา (Operation and Maintenance)
- อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านระบบไฟฟ้า (Electric Equipment)
5) ขอบเขตการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมที่นอกเหนือจากข้อ 1) ถึงข้อ 4) และเป็นประโยชน์ต่อกิจการของ กฟภ. หรือเป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่าง กฟภ. สังคมส่วนรวม และประเทศ ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการในการพิจารณา
แนวทางการให้ทุนสนับสนุน
แนวทางในการให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้
แนวทางที่ 1 การให้ทุนสนับสนุนหน่วยงานวิจัย
เป็นการให้ทุนสนับสนุนกับสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัยและพัฒนาภายใน ประเทศ หรือหน่วยงานภายในประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการทางวิชาการ โดยสามารถให้ทุนสนับสนุนได้ทั้งในลักษณะของการให้ทุนสนับสนุนทั้งโครงการ หรือการให้ทุนสนับสนุนเพียงบางส่วน หรือการให้ทุนร่วมกับหน่วยงานอื่นได้ หรือรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมได้
แนวทางที่ 2 การให้ทุนสนับสนุนหน่วยวิจัย
เป็นการให้ทุนสนับสนุนกับหน่วยงานภายในของ กฟภ. ระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปโดยสามารถขอทุนได้ไม่เกิน 300,000.- บาท/งานวิจัยฯ (ไม่สนับสนุนค่าตอบแทนบุคลากรของ กฟภ.)
แนวทางที่ 3 การให้ทุนสนับสนุนกับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือพนักงาน กฟภ. สำหรับการดำเนินการในเชิงพาณิชย์
เพื่อนำไปพัฒนากระบวนการ สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือธุรกิจ ที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการของ กฟภ. โดยแบ่งการให้ทุนสนับสนุนโครงการเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1: เป็นการให้ทุนเพื่อพัฒนาแนวคิดและศึกษาความเป็นไปได้ของผลงานวิจัยในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน และมีกรอบงบประมาณโครงการไม่เกิน 10,000,000 บาท/โครงการ
ระยะที่ 2: เป็นการให้ทุนเพื่อพัฒนาผลงานวิจัยออกมาให้ได้เป็นต้นแบบ โดยใช้เวลาไม่เกิน 12 เดือน
ระยะที่ 3: เป็นการให้ทุนเพื่อพัฒนาผลงานวิจัยต้นแบบไปสู่ขั้นการขยายผลใช้งานให้ทั่วทั้งองค์กร หรือ การทดลองผลิตในระดับอุตสาหกรรม หรือ การพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์ โดยใช้เวลาไม่เกิน 12 เดือน
หมายเหตุ :
1) วิสาหกิจเริ่มต้น หรือพนักงาน กฟภ. สามารถขอรับทุนได้ทั้งระยะใดระยะหนึ่ง หรือทั้ง 3 ระยะ ในครั้งเดียว ทั้งนี้วงเงินที่ขอรับทุนสนับสนุนโครงการในระยะที่ 1 ต้องไม่เกินกรอบงบประมาณที่กำหนด
2) วงเงินในการให้ทุนสนับสนุนโครงการในระยะที่ 2 และ 3 ให้เป็นไปตามการตกลงกันระหว่าง กฟภ. กับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือพนักงาน กฟภ. เป็นรายโครงการไป
3) กรณีวิสาหกิจเริ่มต้นเป็นนิติบุคคลจะต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจตามกฎหมายไทย และมีคนไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50
เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอโครงการ
การพิจารณาข้อเสนอโครงการในเบื้องต้นมีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
1) มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม
2) มีความสอดคล้องกับลักษณะของงานวิจัยที่จะได้รับการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม
3) มีความสอดคล้องกับขอบเขตการวิจัยพัฒนา และนวัตกรรมที่จะได้รับการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม
4) มีความแตกต่างและไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ กฟภ. มีอยู่หรือมีแผนการดำเนินงานไว้แล้ว
5) มีหน่วยงานผู้ใช้งาน ของ กฟภ. รองรับการดำเนินงานวิจัย และสามารถนำผลงานวิจัยไปขยายผลใช้งานต่อได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมได้ที่
ฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และควบคุมคุณภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า (ฝวน.) กองวิจัยและควบคุมคุณภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า (กวอ.)
โทรศัพท์ : 02-590-5577
วันที่แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 6 มกราคม 2568