
ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยในปี 2503 ทรงมีพระราชดำริที่จะสงวนป่าต้นยางที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ไว้เป็นสวนสาธารณะด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่สามารถทำได้เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้นมาก ในปี 2504 จึงทรงทดลองปลูกต้นยางเอง ในเขตอำเภอท่ายาง พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวลหัวหิน และทรงปลูกต้นยางนาเหล่านั้นในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ ต่อมาในปี 2529 ทรงเปิดอาคารห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่โครงการส่วน พระองค์ฯ โดยได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเผยแพร่ความรู้ที่ได้สู่ประชาชน
เดือนมิถุนายน พ.ศ.2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง และผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้เริ่มดำเนินการโดยฝ่ายวิชาการโครงการส่วนพระองค์ฯ สำหรับงบประมาณดำเนินงานนั้น สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในปี 2536 สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ และสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานทุกกิจกรรมของโครงการ พ.ศ 2536 จนถึงปัจจุบัน
โครงการ PEA ปลูก ดูแล รักษ์ป่า
PEA จัดโครงการปลูกป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ประจำปี 2567 วันต้นไม้ประจำปีของชาติ 3 มิถุนายน และวันดินโลก วันที่ 14 มิถุนายน 2567 นายสุพจน์ คำเหลือง ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นประธานในพิธีปลูกป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ประจำปี 2567 วันต้นไม้ประจำปีของชาติ 3 มิถุนายน และวันดินโลก โดยมี นายกิตติศักดิ์ วรรณแก้ว ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้บริหาร พนักงาน และประชาชน ร่วมงาน ณ ป่าชุมชนบ้านเหล่าพัฒนา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
PEA จัดกิจกรรมการปลูกป่าชุมชน ณ พื้นที่ตำบลป่าแดด ระยะเวลา 5 ปี (2564-2568) โดยปลูกป่าทุกปีๆละ 100 ไร่ รวมทั้งสิ้น 500 ไร่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประจำปี 2567 วันต้นไม้ประจำปีของชาติ 3 มิถุนายน และวันดินโลกเพิ่มจำนวนพื้นที่ป่า ลดปัญหาป่าเสื่อมโทรม ลดปัญหาไฟป่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งเป็นการสร้างภาคีเครือข่ายภาคประชาชนให้เกิดความยั่งยืน สำหรับปี 2567 PEA ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ ประชาชนตำบลป่าแดด ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ชุมชนบ้านเหล่าพัฒนา จำนวน 9,000 ต้น ได้แก่ กระถินเทพา มะขามป้อม และรวงผึ้ง ปัจจุบัน PEA ปลูกต้นไม้ไปแล้วทั้งสิ้น 29,500 ต้น ปริมาณการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เท่ากับ 1,942 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
โครงการ PEA ปลูก ดูแล รักษ์ป่า
PEA จัดโครงการ PEA ปลูก ดูแล รักษ์ป่า ในพื้นที่ชุมชนบ้านเหล่าพัฒนา หมู่ที่ 22 ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยดำเนินการปลูก และดูแลบำรุงรักษา ต่อเนื่องระยะเวลา 5 ปี (ปี 2564-2568) ปีละ 100 ไร่ รวมทั้งสิ้น 500 ไร่ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 ถึงปัจจุบัน ปลูกต้นไม้ไปแล้ว ทั้งสิ้น 47,850 ต้น สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 426.26 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนพื้นที่ป่าลดปัญหาป่าเสื่อมโทรม ลดปัญหาไฟป่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งเป็นการสร้างภาคีเครือข่ายภาคประชาชนให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องตามการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) มิติด้านสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ 13 : ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น และ เป้าหมายที่ 15 : ปกป้องฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
1. โครงการ PEA Go Green (กิจกรรมปลูกป่าชุมชน)
ดำเนินการปลูกต้นไม้ สมุนไพร และบำรุงรักษาร่วมกับชุมชน ในพื้นที่อำเภอป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย


2. ชื่อโครงการ/งาน โครงการ PEA Go Green (ปลูกต้นไม้ในสำนักงาน)
ดำเนินการปลูกต้นไม้ สมุนไพร และบำรุงรักษาภายในสำนักงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


3. โครงการ PEA พลังงานสะอาดเพื่อชุมชน
ดำเนินการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
4. โครงการ PEA รักษ์น้ำ สร้างฝาย
ดำเนินการสร้างฝายชะลอน้ำ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
1. ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
2. ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
3. ตำบลสำพันตา อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
4. ฝายคลองสีระมัน (ตอน3) หมู่ที่ 6 ตำบลตะกาง อำเภอเมือง จังหวัดตราด
ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
1. ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
2. บ้านอุดมพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลวังบ่อ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
3. บ้านคลองยาง หมู่ที่ 1 ตำบลวังท่าดี อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์
4. บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลภูเหล็ก อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
5. บ้านหนองหว้า ตำบลโจดหนองแก อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
6. บ้านพุน้ำร้อน ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
7. หมู่ที่ 6 ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช


1. โครงการ PEA พลังงานสะอาดเพื่อชุมชน
โดยการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาประชาชนในช่วงภัยแล้ง ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน จำนวน 6 แห่ง
1) บ้านเจดีย์ หมู่ที่ 5 และ 11 ตำบลขุนตาล อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย
2) คลองปลายนา หมู่ที่ 3 ตำบลป่างิ้ว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
3) บึงเพียง หมู่ที่ 9 ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
4) บ้านหนองโพธิ์ ตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
5) บ้านท่าลาด ตำบลดุมใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
6) บ้านระไซร์ ตำบลตรำดม อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์
2. จัดกิจกรรมบันทึกนักประหยัดตัวน้อย ภายใต้ โครงการ ชุมชนปลอดภัยใช้ไฟ PEA
ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนในระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย ในรูปแบบออนไลน์การถ่ายทอดทด (livestreaming) จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 595 คน
3. กิจกรรมให้ความรู้นักศึกษาอาชีวศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. และฝึกภาคปฏิบัติตรวจสอบปรับปรุงซ่อมแซมระบบไฟฟ้าขั้นพื้นฐานในชุมชน ภายใต้ โครงการ ชุมชนปลอดภัยใช้ไฟ PEA
ดำเนินการจัดกิจกรรมให้ความรู้นักศึกษาอาชีวศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. สาขาช่างไฟฟ้าจากสถาบันการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และ นำนักศึกษาที่ผ่านการอบรม รวมถึงเชิญชวนช่างไฟฟ้าจากโครงการ 1 ตำบล 1 ช่างไฟฟ้า ร่วมเป็นจิตอาสา ตรวจสอบปรับปรุงซ่อมแซมระบบไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน ในชุมชนที่มีระบบไฟฟ้าชำรุดทรุดโทรมไม่ปลอดภัย
1) กฟก.2 ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว (2 ศาสนา 3 วัฒนธรรม) ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
2) กฟฉ.3 ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอปากช่อง อำเภอโชคชัย อำเภอเสิงสาง อำเภอหนองบุญมาก อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
3) กฟต.3 ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
โครงการ PEA ปลูก ดูแล รักษ์ป่า
สนับสนุนการปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ขยายเขตระบบไฟฟ้าของ PEA และปลูกต้นไม้ร่วมกับชุมชน ดำเนินการปลูกต้นไม้ร่วมกับชุมชน รวมทั้งสิ้น 11,397 ต้น ในพื้นที่ 78 ไร่ เรียบร้อยแล้ว


1. โครงการคนพันธุ์ PEA ฟื้นฟูทะเลไทย (กิจกรรมหญ้าทะเล)
ดำเนินการปลูกหญ้าทะเลทั้งหมด 4,000 ต้น ณ บริเวณหาดหยงหลำ ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2562 เรียบร้อยแล้ว


2. โครงการ PEA ปลูก ดูแล รักษ์ป่า
ดำเนินการปลูกต้นไม้ ณ พื้นที่ 4 ภาค จำนวน 63,059 ต้น เรียบร้อยแล้ว


โครงการคนพันธุ์ PEA ฟื้นฟูทะเลไทย (กิจกรรมหญ้าทะเล)
ดำเนินการปลูกหญ้าทะเลทั้งหมด 4,000 ต้น และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 50,000 ตัว ณ บริเวณหาดหยงหลำ ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2561
