ค่า AT และ AF บนเบรกเกอร์บอกอะไรเรา

31 มกราคม 2568
เบรกเกอร์

🧏‍♂️รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ บนเบรกเกอร์ของบ้าน 🏠🏗หากสังเกตดี ๆ จะพบว่ามีค่าบางอย่างที่บ่งบอกเอาไว้ นั่นก็คือ ค่า AT และ AF แต่ละค่ามีความหมายและสำคัญอย่างไร ไปหาคำตอบกัน…🧐

🔑AT (Ampere Trip) คือค่าพิกัดของเบรกเกอร์ตัวนั้น ๆ หรืออธิบายง่าย ๆ คือ หน่วยวัดกระแสไฟฟ้าของแอมแปร์ตัวนั้น ๆ ว่า สามารถทนต่อกระแสไฟฟ้าหรือใช้งานได้ในสภาวะปกติที่สูงสุดเท่าไหร่ 😉เช่น เบรกเกอร์ตัวนี้มีพิกัดแอมแปร์อยู่ที่ 16 แอมแปร์ หรือ 32 แอมแปร์ หมายถึงว่ามีคุณสมบัติทนต่อกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดที่ 16 หรือ 32 แอมแปร์ ดังนั้น ถ้าเราใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเกินจากค่า AT นี้ เบรกเกอร์จะทำการตัดไฟเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต 👍

🔑AF (Ampere Frame) คือ พิกัดกระแสโครงหรือพิกัดการทนต่อกระแสสูงสุดของเบรกเกอร์ในรุ่นนั้น ๆ โดยทั่วไป เวลาที่ผู้ผลิต ๆ เบรกเกอร์ MCB (เบรกเกอร์ลูกย่อย) ยกตัวอย่างเช่น พิกัดกระแสเริ่มต้น 10A – 63A จะใช้บอดี้ 63A ในการผลิตเบรกเกอร์ทั้งหมด เพื่อประหยัดต้นทุนและติดตั้งง่าย ซึ่งเบรกเกอร์ที่ผลิตขึ้นมาจะมีสเปกในการผลิตตั้งแต่ 10AT/63AF – 63AT/63AF โดยขนาดของ AT จะมีขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ AF 😉

📌อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นเบรกเกอร์ MCCB (เบรกเกอร์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือลัดวงจร) จะมีหลากหลายขนาด เช่น หากเป็นไซส์เล็กจะมีตั้งแต่ AF=100 ส่วน AT มีให้เลือกตั้งแต่ 15A-100A หากเป็น MCCB ไซส์กลาง AF=250 AT มีให้เลือกตั้งแต่ 100A-250A และหากเป็น MCCB ไซส์ใหญ่ AF=630 ส่วน AT มีให้เลือกตั้งแต่ 320A-600A เป็นต้น

🤔ทั้งนี้ ค่า AF จะมีค่าแปรผันตามค่า Icu หรือค่าทนต่อกระแสลัดวงจร นั่นหมายความว่า ยิ่ง AF มีขนาดใหญ่ ค่า Icu ก็จะยิ่งมีค่าสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ไฟฟ้า จำเป็นต้องรู้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในบ้านก่อน หลังจากนั้นจึงจะเลือกซื้อเบรกเกอร์ที่มีขนาดแอมแปร์ที่เหมาะสมต่อการใช้งานได้อย่างเหมาะสม 🥰🫰

ช่องทางการติดตาม 

Facebook : facebook.com/SAFESAVETHAI

Instagram : instagram.com/safesavethai.official

Twitter : https://twitter.com/safesavethai

เว็บไซต์ : https://safesavethai.com/

เบรกเกอร์

แชร์โพสต์นี้