Skip to Content
|
1129 PEA Contact Center
ขนาดตัวอักษร
ความตัดกันของสี
TH
|
EN
ค้นหา
ค้นหา
ปุ่มเมนู
เกี่ยวกับเรา
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์-ภารกิจ-ค่านิยม
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการและผู้บริหาร
คณะกรรมการ
คณะผู้บริหาร
ทำเนียบอดีตผู้ว่าการ
ผลการดำเนินงาน
รายงานประจำปี
รายงานทางการเงิน
รายงานผลการดำเนินงาน
การพัฒนาความยั่งยืน ของ กฟภ.
การดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล
การใช้จ่ายงบประมาณ
PEA Smart Grid Index (SGI)
แผนงานและโครงการ
การดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล
รายงานแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย
กองทุนการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
การกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ กฟภ. (Compliance)
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ กฟภ.
ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานขององค์กร
พ.ร.บ. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
นโยบายองค์กร
<div class="container"> <div class="row"> <div class="col-md-3" style="padding-right: 40px;"><img alt="รูปเจ้าหน้าที่PEA" src="/Portals/0/Images/pea-about.jpg" style="width: 95%;" /></div> </div> </div>
ข่าวสารประกาศ
ประกาศดับไฟ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศขายทอดตลาด
ข่าวรับสมัครงาน
ปฏิทิน Off Peak
Product List
PEA Product Acceptance
Pre-Qualification Lists
PEA จิตอาสา
GRID by PEA
การรับรองผลิตภัณฑ์มิเตอร์
การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์
DRPilot
อัตราค่าบริการทดสอบอุปกรณ์
ประกาศขยายระยะเวลาและรายชื่อห้องทดสอบของโรงงานผู้ผลิต (ชั่วคราว)
ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า
ไฟฟ้าน่ารู้
Infographic
เกี่ยวกับค่าไฟฟ้า
การขอใช้ไฟฟ้า
ค่า FiTv
ข้อมูลเกี่ยวกับการอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Info)
ค่า Ft
ดาวน์โหลดเอกสาร
บริการอื่น ๆ
ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
งานด้านพลังงาน
งานส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน
งานรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน
งานรับเชื่อมต่อเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า
ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (PPIM)
ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐาน GSEE
ติดต่อเรา
FAQ การขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า
1. ถ้าบ้านที่มีการใช้ไฟ ชื่อเจ้าของบ้านไม่ตรงกับชื่อเจ้าของมิเตอร์สามารถขอรับเงินประกันคืนได้หรือไม่
สามารถรับคืนได้ โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้
หนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกัน การใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-2) หรือหนังสือแสดง กรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน นส.3ก
หลักฐานผู้ขอรับเงิน
กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน
กรณีเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน ประทับตรานิติบุคคลฯ ทุกฉบับ พร้อมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบอำนาจตามข้อ 1
ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือกขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)
2. กรณีที่มีการซื้อหรือขายบ้านไปนานแล้วแต่ยังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อ การขอคืนเงินประกันต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
ตามข้อ 1
3. ซื้อบ้านจากคนอื่น ชื่อมิเตอร์ยังเป็นเจ้าของคนเดิมได้รับเงินประกันไหมหรือต้องทำการโอนเปลี่ยนชื่อก่อน
สามารถขอรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ (โดยขอให้ทำการโอนเปลี่ยนชื่อให้ถูกต้องต่อไป) มีเอกสารประกอบ ดังนี้
คำร้องขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าประเภท 1-2 (เฉพาะผู้ขอรับเงินที่ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ไม่ใช่ผู้ขอใช้ไฟฟ้า)
หนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกัน การใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-2) หรือหนังสือแสดง กรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน นส.3ก
หลักฐานผู้ขอรับเงิน
กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน
กรณีเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน ประทับตรานิติบุคคลฯ ทุกฉบับ พร้อมลง ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบ อำนาจตามข้อ 1
ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือก ขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)
4. ขอใช้ไฟฟ้าในนามชื่อของโครงการหมู่บ้านยังไม่ได้ทำการโอนเปลี่ยนชื่อ สามารถลงทะเบียนขอรับเงินคืนได้หรือไม่
ตามข้อ 3.
5. ขายบ้านไปแล้วแต่ยังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของคนเดิมจะสามารถไปขอรับเงินประกันคืนได้หรือไม่
ได้ เนื่องจากเจ้าของเดิมยังไม่ได้ทำการโอนสิทธิ โดย กฟภ. จะคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้าในใบเสร็จรับเงิน
6. เจ้าของเงินประกันมายื่นขอเงินคืนแล้ว แต่ผู้ซื้อจะมายื่นขอเงินประกันคืนได้หรือไม่
1. เงินประกันการใช้ไฟฟ้า จะคืนให้แก่เจ้าของเงินประกัน กรณีดังกล่าวเมื่อเจ้าของเงินประกันยื่นขอคืนเงินแล้ว ผู้ซื้อจะไม่สามารถขอเงินประกันได้
2. หากกรณีเจ้าของเงินประกัน ไม่ได้ยื่นขอเงินคืน ผู้ซื้อยังสามารถมายื่นขอเงินคืนได้ โดยใช้สัญญาซื้อขาย หรือหนังสือโอนสิทธิให้รับเงินประกัน ใช้ประกอบการขอเงินคืนได้ แต่ถ้ามีการโต้แย้งสิทธิจากเจ้าของเงินประกัน ในการขอเงินประกันคืน เจ้าของเงินประกัน ต้องมาติดต่อที่ สนง.กฟฟ. พร้อมเอกสารสำคัญที่แสดงว่าเป็นเจ้าของเงินประกัน
7. การซื้อขายบ้านโอนเปลี่ยนชื่อเรียบร้อยแล้ว แต่เจ้าของมิเตอร์คนเก่ายังไม่ได้รับเงินประกันคืนสามารถรับเงินประกันคืนได้หรือไม่ เอกสารหลักฐานต้องใช้อะไรบ้าง
กรณีการซื้อขายบ้านและมีการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าในระบบเรียบร้อยแล้วกฟภ. จะถือว่าได้มีการวางเงินประกันในชื่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ หากผู้ใช้ไฟฟ้าคนเก่ายื่นคำร้องขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไม่ผ่าน ให้ติดต่อ กฟฟ. ในพื้นที่โดยให้นำหลักฐานคือ ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า มาแสดง
8. เจ้าของเงินประกันมายื่นขอเงินคืนแล้ว แต่ผู้ซื้อจะมายื่นขอเงินประกันคืนได้หรือไม่
กรณีนี้หากไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นชื่อของผู้ซื้อ สามารถใช้สัญญาซื้อขาย หรือ เอกสารการโอนสิทธิรับเงินประกันคืนได้
9. เจ้าของมิเตอร์เสียชีวิตไม่ได้ทำพินัยกรรม ไม่สะดวกไปยื่นเรื่องเป็นผู้จัดการมรดก มีแนวทางอื่นอีกหรือไม่
ทายาทหรือบุคคลในครอบครัวสามารถขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับคืนเงิน
ใบมรณะบัตรหรือทะเบียนบ้านที่ประทับตราเสียชีวิต ของเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า
หลักฐานแสดงความสัมพันธ์กับเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส เป็นต้น
หนังสือแสดงความยินยอมของทายาทพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-1)
ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการ ให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับทายาทผู้ขอรับคืนเงินเท่านั้น)
10. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเสียชีวิตไปหลาย 10 ปีแล้ว จะได้รับเงินประกันไหม
สามารถรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ ตามกรณี ดังนี้
1. มีคำสั่งศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการมรดก
ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
สำเนาหน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับผู้จัดการมรดกเท่านั้น)
2. ทายาทหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่นคำร้อง
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับคืนเงิน
ใบมรณะบัตรหรือทะเบียนบ้านที่ประทับตราเสียชีวิต ของเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า
หลักฐานแสดงความสัมพันธ์กับเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เช่น ทะเบียนบ้านทะเบียนสมรส เป็นต้น
หนังสือแสดงความยินยอมของทายาทพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-1)
ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับทายาทผู้ขอรับคืนเงินเท่านั้น)
11. เจ้าของคนเดิมเสียชีวิตเจ้าหน้าที่มีการบันทึก ชื่อ-นามสกุล ในบิลใบแจ้งผิดตั้งแต่มีการขอใช้ไฟฟ้า ปัจจุบันจะให้ผู้จัดการมรดกไปรับแทนจะมีขั้นตอนดำเนินการอย่างไรบ้าง เนื่องจากชื่อในใบมรณะบัตรกับบิลใบแจ้งไม่เหมือนกัน
หากผิดด้วยตัวสะกด ซึ่งมีเอกสารอ้างอิงได้ว่าเป็นบุคคลเดียวกัน (ใบมรณะบัตร) ผู้จัดการมรดกสามารถยื่นคำร้องขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ โดยใช้เอกสาร
คำสั่งศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการมรดก
ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
สำเนาหน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับผู้จัดการมรดกเท่านั้น)
12. กรณีเจ้าของเงินประกันเสียชีวิต ใครสามารถขอคืนเงินประกันได้บ้าง
1. ผู้จัดการมรดก โดยต้องมีบัตรประชาชน คำสั่งศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งเมื่อได้รับเงินคืนไปแล้วต้องนำไปจัดสรรให้แก่ทายาทตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
2. ทายาทตามกฎหมาย เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตรทุกคน โดยใช้หนังสือแสดงความยินยอมให้ทายาทหรือบุคคลในครอบครัว เป็นผู้ยื่นขอเงินคืนพร้อมเอกสารตามที่กำหนดไว้
10. ซื้อบ้านจากคนอื่น ชื่อมิเตอร์ยังเป็นเจ้าของคนเดิมได้รับเงินประกันไหม หรือต้องทำการโอนเปลี่ยนชื่อก่อน
สามารถขอรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ (โดยขอให้ทำการโอนเปลี่ยนชื่อให้ถูกต้องต่อไป) มีเอกสารประกอบ ดังนี้
คำร้องขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าประเภท 1-2 (เฉพาะผู้ขอรับเงินที่ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ไม่ใช่ผู้ขอใช้ไฟฟ้า)
หนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกัน การใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-2) หรือหนังสือแสดง กรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน นส.3ก
หลักฐานผู้ขอรับเงิน
กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน
กรณีเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน ประทับตรานิติบุคคลฯ ทุกฉบับ พร้อมลง ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบ อำนาจตามข้อ 1
ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือก ขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)
13. จดทะเบียนสมรสชื่อผู้จดทะเบียนใช้ไฟฟ้าเป็นชื่อสามีแต่แยกกันอยู่ภรรยาสามารถรับเงินประกันคืนได้หรือไม่
คืนเงินให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า หากคู่สมรสต้องการขอคืนเงิน ต้องมีหนังสือโอนสิทธิ์ ให้ความยินยอมรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้ามาแสดงด้วย
14. กรณีสามีภรรยาแยกทางกัน โดยไม่ได้จดทะเบียนหย่า ชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นชื่อสามีและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ส่วนภรรยาเป็นเจ้าบ้านในปัจจุบัน ภรรยาขอคืนเงินประกันได้หรือไม่
ภรรยาเป็นเจ้าบ้าน ซึ่งอาจจะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์และไม่ใช่เจ้าของเงินประกัน จึงไม่สามารถยื่นขอเงินคืนได้ แต่หากมีการจดทะเบียนหย่าแล้วยกบ้านให้แก่ภรรยา กรณีนี้ใช้หนังสือหย่า มาใช้ประกอบการขอเงินคืนเพิ่มเติมได้
15. เจ้าของเงินประกันไม่สะดวกไปรับเงินประกันคืน สามารถให้ สามี ภรรยา หรือบุตร รับแทนได้หรือไม่
ได้ เฉพาะกรณีที่เลือกรับเป็นเงินสดที่ สนง.กฟฟ. โดยต้องทำการมอบฉันทะ หรือมอบอำนาจให้รับเงินมาแสดงด้วย ซึ่งหนังสือมอบอำนาจ ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ก็สามารถใช้ได้
16. ชาวต่างชาติเป็นคนวางเงินประกันแต่ใบแจ้งค่าไฟฟ้าเป็นชื่อของคนไทย ใครจะได้รับเงินประกัน
กฟภ. จะคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับผู้ที่มีชื่อปรากฏเป็น ชื่อผู้วางเงินประกันและชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า ตามที่บันทึกในระบบงานของ กฟภ.
17. เอกสารในการยื่นเรื่องต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
รายละเอียดตามหนังสือ เลขที่ กศฟ.(บฟ) 404/2563 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2563 แนวทางในการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชน ดูแลปัญหาภัยแล้ง และกระตุ้นเศรษฐกิจตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 (เอกสารแนบ 3)
18. บ้านมีมิเตอร์หลายลูกสามารถขอรับเงินประกันคืนทั้งหมดหรือไม่
สามารถรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ทั้งหมด ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามแนวทางการคืนเงิน ประกันการใช้ไฟฟ้า ที่ กฟภ. กำหนด
19. บ้านพักข้าราชการสามารถรับคืนเงินประกันได้หรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างไร
บ้านพักของหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานต้องมีหนังสือร้องขอต่อ กฟฟ. โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้
หนังสือขอรับคืนเงินประกันจากหน่วยงาน ลงนามโดยหัวหน้าหน่วยงาน
ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เท่านั้น)
20. อนาคตบ้านที่ทางการไฟฟ้ามีการคืนเงินประกันไปถูกตัดไฟแต่ไม่มีการไปจ่ายค่าไฟที่ค้างชำระ ทางการไฟฟ้าจะดำเนินการอย่างไร
ติดตามทวงถามค่าไฟฟ้าที่ค้างชำระ ดำเนินการทางด้านกฎหมาย
21. บ้านที่ถูกหักค่าไฟฟ้าจากเงินประกันไป และเงินประกันไม่เหลือแล้ว จะดำเนินการอย่างไรบ้าง
หากยังมีการใช้ไฟเป็นปกติ ไม่ต้องดำเนินการอย่างใด
หากมีหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระ ให้ดำเนินการตามกระบวนงานติดตามเร่งรัดหนี้ งดจ่ายไฟต่อไป
22. กรณีผู้ใช้ไฟฟ้ายังไม่ได้ลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า แล้วถูกงดจ่ายไฟ เงินประกันจะถูกนำไปหักชำระหนี้ค่าไฟฟ้าหรือไม่
การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ให้คืนเต็มจำนวนตามที่ผู้ใช้ไฟฟ้าวางหลักประกันการใช้ไฟฟ้าไว้โดยไม่ต้องตรวจสอบหนี้หรือประวัติการชำระ ค่าไฟฟ้า ดังนั้นหากผู้ใช้ไฟฟ้าถูก งดจ่ายไฟฟ้า เงินประกันการใช้ไฟฟ้าจะไม่ถูกนำไปหักชำระหนี้แต่อย่างใด
23. ได้เงินค่าประกันมิเตอร์คืนแล้ว ต้องวางเงินประกันใหม่หรือไม่
กรณีผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิมได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืน ไม่ต้องวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าใหม่
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ประกาศการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อ 4 ให้ยกเลิกการเรียกหลักประกันการใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ยกเว้นกรณีเปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าจากประเภทที่ 1 หรือ ประเภทที่ 2 ไปเป็นประเภทอื่นที่มีข้อกำหนดให้วางหลักประกัน ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม 2563
24. การยื่นเอกสารต้องไปที่สำนักงานหรือสามารถยื่นออนไลน์ได้
สามารถยื่นเอกสารออนไลน์ ผ่าน Application PEA Smart Plus และ Website:
https://dmsxupload.pea.co.th/cdp
25. การขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารหรือผ่านพร้อมเพย์ สามารถใช้ธนาคารไหนได้บ้าง
กรณีเลือกโอนผ่านพร้อมเพย์รองรับได้ทุกธนาคาร
กรณีเลือกโอนผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร เปิดรองรับ 5 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ (3 แห่งนี้ไม่ต้องแนบหน้าสมุดบัญชีเพิ่ม) อีก 2 แห่งคือ ธนาคารทหารไทย และธนาคารอิสลาม (2 ธนาคารนี้ ต้องแนบหน้าสมุดบัญชีเงินฝากเพิ่มเติมด้วย)
26. การขอใช้ไฟฟ้าบนที่ดินไม่มีอาคาร เป็นไฟชั่วคราว หรือใช้เพื่อการเกษตร รวมทั้งกรณีที่ติดตั้งหม้อแปลง 50 เควีเอหรือติดตั้งหม้อแปลงเฉพาะราย ซึ่งใบเสร็จรับเงินประกันสูญหาย ขอคืนเงินประกันได้หรือไม่
การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า จะคืนให้แก่เจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 โดยดูจากประเภทอัตราค่าไฟฟ้าที่ขอใช้ไฟฟ้าครั้งแรก หากเข้าเงื่อนไขดังกล่าว เจ้าของเงินประกันขอคืนเงินได้ แต่หากไม่มีใบเสร็จ ให้ทำรายการเลือกช่องที่ระบุว่าใบเสร็จสูญหายได้
27. กรณีบ้านเช่าที่มีหลายห้อง ผู้เช่าขอคืนเงินประกัน ได้หรือไม่
บ้านเช่ามีหลายห้อง หากมีการติดตั้งมิเตอร์แยกและวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไว้ของแต่ละห้อง เจ้าของเงินประกันขอคืนเงินประกันได้ แต่หากผู้เช่าต้องการขอคืนเอง จะต้องมีหนังสือการโอนสิทธิให้รับเงินประกันคืนจากเจ้าของเงินประกันมาประกอบเพิ่มเติมด้วย
28. ผู้ใช้ไฟฟ้า ไม่ขอเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืนได้หรือไม่ ถ้าไม่ขอคืนจะได้รับสิทธิอะไรหรือไม่ และมีการหมดระยะเวลาขอเงินคืนหรือไม่
ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ขอรับเงินประกันคืนได้ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้รับผลประโยชน์จากเงินประกันสะสมไปทุกๆ ปี จนครบ 5 ปี แล้ว กฟภ. จะนำเงินผลประโยชน์จำนวนที่สะสมไว้คืนให้โดยนำไปหักชำระเป็นค่าไฟฟ้า ซึ่งเงินประกันการใช้ไฟฟ้า จะขอคืนเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีกำหนดระยะเวลาของการขอเงินคืน
29. กรณีขอรับเงินประกันคืนผ่าน Counter Service (7-11) ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่ และจำเป็นต้องนำบัตรประชาชนไปด้วยหรือไม่
รับเงินที่ Counter Service (7-11) ไม่เสียค่าธรรมเนียม โดยผู้ขอรับเงินคืนเป็นไปตามเงื่อนไขของ กฟภ. ต้องเป็นผู้ไปยื่นขอรับเงินประกันด้วยตนเอง โดยใช้บัตรประชาชนแบบ Smart card และกรอก pin 6 หลัก ที่ได้รับจาก กฟภ.
30. กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าลงทะเบียนลงทะเบียนแล้ว จะตรวจสอบสถานะการคืนเงิน ว่าอยู่ในขั้นตอนใด ได้หรือไม่
สามารถตรวจสอบได้ โดยเข้าไปที่ Web ลงทะเบียน กรอกข้อมูลที่กำหนดไว้ แล้วกดตรวจสอบสถานะ
31. ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบสิทธิกรณีต่างๆหรือเอกสารหลักฐานที่จะต้องเตรียมเพื่อยื่น ขอรับเงิน ประกันการใช้ไฟฟ้าคืน สามารถดูผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบสิทธิและเอกสารประกอบในกรณีต่างๆ ได้ ดังนี้
1. www.pea.co.th
2. Facebook : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA
3. Twitter : @pea_thailand
4. Instagram : peathailand
5. Line Official Account : @peathailand
6. แอปพลิเคชัน PEA Smart Plus
หรือสอบถาม 1129 PEA Call Center
ทั้งนี้ สามารถลงทะเบียนผ่านช่องทาง ดังนี้
1. www.pea.co.th
2. Facebook : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA
3. Line Official Account : @peathailand
4. แอปพลิเคชัน PEA Smart Plus
5. สแกน QR Code (มุมล่างใบแจ้งค่าไฟฟ้า)
32. กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะทราบได้อย่างไร และได้รับเงินคืนเมื่อไร
แจ้งให้ทราบตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้ในแต่ละขั้นตอน ดังนี้
1. กรณีเจ้าของเงินประกันลงทะเบียนมีข้อมูลถูกต้องตรงกัน แจ้งว่า PEA คำร้อง CA020001234567 อยู่ระหว่างดำเนินการคืนเงินประกัน
2. กรณีอื่นๆเมื่อลงทะเบียนแล้ว แจ้งว่า PEA ได้รับคำร้อง CA20001234567 แล้ว
3. เมื่อลงทะเบียนแล้ว หากเอกสารไม่สมบูรณ์แจ้งว่า CA20001234567 เอกสารไม่สมบูรณ์ติดต่อ กฟจ. .................. โทรxxx xxx xxxx
4. เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว แจ้งว่า PEA อยู่ระหว่างดำเนินการคืนเงินประกัน
5. เมื่อพร้อมจ่ายเงินประกัน จะแจ้งให้ทราบในแต่ละช่องทางที่เลือกรับเงินคืน ดังนี้
5.1 PEAคืนเงินประกันxx,xxx.00บาทวันที่dd/mm/yyบัญชีพร้อมเพย์
5.2 PEAคืนเงินประกันxx,xxx.00บาทวันที่dd/mm/yyบัญชี123xxxxxxxx1234
5.3 PEAคืนเงินประกันxx,xxx.00บาทรหัสXXXXXXที่7-11...
ที่มา : กองรายได้ ฝ่ายการเงิน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (02/04/2563)